กองคลัง

 



้วยระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปีเป็นระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่ต้องชำระภาษี ในเขตพื้นที่ตำบลหาดกรวดโดยต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่าง ๆ และชำระภาษีณ สำนักงานเทศบาลตำบลหาดกรวด  โดยมีรายละเอียดในการชำระภาษีต่าง ๆ ดังนี้ .-

* ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน จะต้องรับแบบพิมพ์แสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด. 2) และชำระภาษี ภายในเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี

* ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีป้าย ต้องรับแบบพิมพ์แสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป. 1) และชำระภาษีป้าย ภายในเดือน มีนาคม ของทุกปี

* ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่ ภายในเดือน เมษายน ของทุกปี


** ภาษีโรงเรือนและที่ดิน **

* ความหมาย

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง  ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ   กับที่ดินซึ่งต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น  เช่น ผู้ประกอบการกิจการร้านค้าบ้านเช่าต่าง ๆ ตามลักษณะ ขนาด และทำเลที่ตั้ง

* ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ

ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 6 ได้ให้ความหมายของ  “ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ” ว่าหมายถึง

(1) ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ และ

(2) บริเวณต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง

* ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี

มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ กำหนดไว้เป็น 2 กรณี คือ

1) หากเจ้าของทรัพย์สินอันได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ และที่ดิน เป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้นก็เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

2) แต่ถ้าที่ดิน และโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี

ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีไม่ชำระภาษีตามกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม โดยมีรายละเอียดดังนี้

* ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

- ถ้าชำระไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของภาษีที่ค้างชำระ

- ถ้าเกินหนึ่งเดือนแต่ไม่เกินสองเดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีค้าง

- ถ้าเกินสองเดือนแต่ไม่เกินสามเดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5  ของค่าภาษีค้าง

- ถ้าเกินสามเดือนแต่ไม่เกินสี่เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีค้าง

*****************************************

**ภาษีป้าย **

* ความหมาย

ป้าย หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า  หรือประกอบกิจการอื่น  เพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่น  เพื่อหารายได้   ไม่ว่าจะได้แสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ  ด้วยอักษรภาพ  หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

มาตรา 7 ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปี   ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกเสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี   และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวดงวดละสามเดือนของปี  โดยเริ่มเสียภาษีตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึง งวดสุดท้ายของปี  ทั้งนี้  ตามอัตราที่กำหนดในกฎ กระทรวงซึ่งต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีป้ายให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดภายใน
เดือนมีนาคม ของปี

* หากมีการเปลี่ยนแปลง กรณีเปลี่ยนป้าย โอนป้าย ย้ายป้ายหรือปลดป้ายแล้ว ให้แจ้งให้เทศบาลตำบลหาดกรวดทราบ



ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีไม่ชำระภาษีตามกำหนด
ต้องเสียเงินเพิ่ม โดยมีรายละเอียดดังนี้

*
ภาษีป้าย

- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่ที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย    เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ จะแจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย

- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้อง ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน

**ภาษีบำรุงท้องที่**

* ความหมาย

ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย

เจ้าของที่ดิน หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน   หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน

*ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเดือนเมษายนของทุกปี

* ที่ดินที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่

ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีไม่ชำระภาษีตามกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่ม โดยมีรายละเอียดดังนี้

- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ต้องเสีย  ภาษีบำรุงท้องที่

- ไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบสี่ต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่

การรับชำระภาษีบำรุงท้องที่ทางไปรษณีย์

ด้วยระหว่างเดือน มกราคม – เมษายน ของทุกปีเป็นระยะเวลาที่ผู้มีหน้าที่ต้องชำระภาษี  ในเขตพื้นที่ตำบลหาดกรวดโดยจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่าง  ๆ   และชำระภาษี ณ  สำนักงานเทศบาลตำบลหาดกรวด   หรือชำระภาษีทางไปรษณีย์โดยมีรายละเอียดการชำระภาษีดังนี้ :-
☻ ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่ ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี

 

เฉพาะกรณีที่ท่านไม่ค้างชำระภาษีเท่านั้นหากท่านค้างชำระภาษีโปรดสอบถามยอดค้างชำระค่าภาษีก่อนชำระเงิน

  • ถือว่าวันที่ได้ส่งทางไปรษณีย์ วันชำระผ่านธนาคารเป็นวันชำระเงิน


จ่าหน้าซองถึง

 

นายกเทศมนตรีตำบลหาดกรวด

1/1 หมู่  1  ถ.อุตรดิตถ์-พิชัย อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์  53000

การชำระเงิน

- จ่ายเป็นธนาณัติทางไปรษณีย์

- ตั๋วแลกเงินธนาคาร

- เช็คขีดคร่อม


สั่งจ่ายในนาม เทศบาลตำบลหาดกรวด
พร้อมแจ้งชื่อและที่อยู่ปัจจุบันของเจ้าของที่ดิน


***********************************


กิจการที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์

ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์  เรื่อง  ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10)   พ.ศ. 2551  ลงวันที่  1  กุมภาพันธ์  2551

ข้อ 4 กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ประกอบพาณิชยกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. การทําโรงสีข้าว และการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร

2. การขายสินค้าไมว่าอยางใดๆ  อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายไดเป็นเงินตั้งแต20 บาทขึ้นไปหรือมีสินคาดังกล่าวไวเพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 500 บาทขึ้นไป

3. การเปนนายหน้า หรือตัวแทนค้าต่าง  ซึ่งทําการเกี่ยวกับสินค้าไมว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามและสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงิน ตั้งแต20 บาทขึ้นไป

4. การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรม ไม่ว่า อย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตไดมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใด เป็นเงิน  ตั้งแต20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใด มีสินค้าที่ผลิตไดมีค่ารวมทั้งสิ้นตั้งแต500 บาท ขึ้นไป

5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนตประจําทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง  การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การใหกูยืมเงิน  การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงินการธนาคาร การโพยก๊วน การทําโรงรับจํานํา และการทําโรงแรม

6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี

8. การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบริการอินเทอร์เน็ต การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

9. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต

10. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

11. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

12. การให้บริการตู้เพลง

13. โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

การยื่นจดทะเบียนพาณิชย์

-  การจดทะเบียนตั้งใหม่

-  การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง

-  การจดทะเบียนยกเลิก

ขั้นตอน

1. จัดทําคําขอจดทะเบียน (แบบ ทพ.) พร้อมหลักฐานประกอบ (สําเนาบัตรประจําตัว + ทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ)

2. เจ้าหน้าที่ รับ/ตรวจคําขอ

3. ชําระค่าธรรมเนียม

4. นายทะเบียนออกใบสําคัญทะเบียนพาณิชย(พค 0403)

อัตราค่าธรรมเนียม

1. จดทะเบียนตั้งใหม่                   จำนวน  50  บาท

2. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ  จำนวน  20  บาท

3. จดทะเบียนยกเลิก                    จำนวน  20  บาท

4. ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์   จำนวน  30  บาท

5. ขอคัดสำเนาเอกสาร                จำนวน  30  บาท

* ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวันเลิกประกอบกิจการ

ขั้นตอนการออกทะเบียนพาณิชย์กรณีจดทะเบียนใหม่

 

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติและให้คำแนะนำในการจดทะเบียนพาณิชย์

เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการกรอกคำขอจดทะเบียนพาณิชย์

เจ้าหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานจากผู้อื่น 
คำขอและตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง

นายทะเบียนพาณิชย์พิจารณาและลงนามในบันทึกนายทะเบียนและส่งเรื่องคืนให้เจ้าหน้าที่

เจ้าหน้าที่พิมพ์ใบทะเบียนพาณิชย์

นายทะเบียนพาณิชย์พิจารณาและลงนามในบันทึกนายทะเบียนและส่งเรื่องคืนให้เจ้าหน้าที่

ภายใน1 วัน

แบบ ทพ.

ถูกต้อง

ถูกต้อง

ไม่ถูกต้อง

ไม่ถูกต้อง

ผู้รอยื่นจดทะเบียนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

แบบ ทพ.

แบบ ทพ.

แบบ ทพ.

เจ้าหน้าที่ยื่นคำขอและสั่งการให้ผู้ยืนคำขอไปดำเนินการให้ถูกต้อง

บทกำหนดโทษ

1. ไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์  ภายใน 30 วัน

2. แสดงรายการเท็จ

3. ไม่ไปพบนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่

4. ไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียน  หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่

* ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองพันบาท และปรับอีกไม่เกิน วันละหนึ่งร้อยบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย

5. ไม่ยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน

6. ไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ในที่เปิดเผย

7. ไม่จัดให้มีป้ายชื่อไว้ที่หน้าสำนักงานใหญ่หรือสาขา

* ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองร้อยบาท และปรับอีกไม่เกิน วันละยี่สิบบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย

สถานที่จดทะเบียนพาณิชย์

ผู้ประกอบกิจการค้า  สามารถยื่นจดทะเบียนพาณิชย์  ณ เทศบาล ที่กิจการค้าของตนเองตั้งอยู่  หรือยื่นได้ที่สำนักงานทะเบียนพาณิชย์  เทศบาลตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์  ในวันและเวลาราชการ  ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. โทรศัพท์ 0 - 5544 - 5118 โทรสาร 0 - 5544 - 5118  ต่อ 13

 

คำสั่งเทศบาลตำบลหาดกรวด : การแบ่งงานและมอบหมายหน้าที่ภายในกองคลัง เทศบาลตำบลหาดกรวด  (ดาวโหลด)