นางสาวพรรณพิไล  สาดคำ
     ปลัดเทศบาลตำบล ปฏิบัติหน้าที่
     นายกเทศมนตรีตำบลหาดกรวด

สายตรงผู้บริหาร

การดำเนินงาน

ทต.หาดกรวดสู่อาเซียน

ของดีเทศบาล

ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน

คุณธรรมและความโปร่งใส

1714724
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
74
387
1260
1704647
5296
10561
1714724

Your IP: 44.200.26.112
Server Time: 2024-03-29 06:01:40

วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์นโยบาย

วิสัยทัศน์และยุทศาสตร์นโยบาย

1) นโยบายการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร
เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำอุปโภค – บริโภค พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การบริหารจัดการน้ำ พัฒนาระบบประปาให้เพียงพอในการอุปโภค – บริโภค ให้ไหลตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรให้พอเพียงทั่วถึงทั้งตำบล ดังนี้
1.1พัฒนาระบบบริการประปา ให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาแจกจ่ายให้ประชาชนตำบลหาดกรวด
1.2ขุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อรองรับระบบประปาจากแหล่งน้ำบาดาล ก่อสร้างระบบประปาผิวดิน และจะทำการขุดลอกแหล่งกักเก็บน้ำดิบขนาดใหญ่ที่มีอยู่ให้รองรับปริมาณน้ำอย่างเพียงพอ
1.3ขุดลอกสระน้ำเพื่อการเกษตร สระน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปา และใช้เพื่อการเกษตร

 

2) นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและผังเมืองการคมนาคมขนส่งและสัญจร ระบบสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลฯ ได้รับความสะดวกสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีแนวทาง ดังนี้
1.1พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม ถนนลาดยาง คอนกรีต ถนนหินคลุก ให้เป็นเส้นทาง คมนาคมที่ได้มาตรฐาน และเพียงพอ
1.2พัฒนาระบบกันน้ำท่วม ด้วยการปรับปรุงก่อสร้าง รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำให้สามารถ รองรับปริมาณน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3ปรับปรุงระบบการบริการสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ทั่วถึงเพียงพอ มีคุณภาพ มาตรฐาน
1.4ขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำและไฟฟ้าสาธารณะให้ครอบคลุม และดําเนินการประสานเพื่อ ขอรับงบประมาณจากภายนอกและดำเนินการขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อปรับปรุง ระบบบริการไฟฟ้า สาธารณะให้มีมาตรฐานและประหยัด
1.5ดําเนินการปรับปรุงระบบจราจรให้เป็นระบบ รวมทั้งติดตั้งไฟ ป้าย สัญญาณ จราจรในจุดที่เสี่ยงเพื่อความปลอดภัย แก่ผู้ใช้ถนน
1.6การควบคุมการขยายของตัวเมืองให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมเทศบาลตำบลหาดกรวดและเป็นไปตาม ข้อบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

3) นโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม ชุมชน สินค้าการเกษตร การทำเกษตรอินทรีย์และเพิ่มรายได้ให้ประชาชน
เพื่อให้ประชาชนในตำบลหาดกรวดมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีแนวทางดังนี้
3.1 การป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จะจัดเตรียมความพร้อมบุคลากร ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย โดยเฉพาะอัคคีภัยจัดหาถังเคมีติดตั้ง รวมทั้งจัดให้มีการอบรมทบทวน ซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยระงับอัคคีภัยตามจุดเสี่ยงต่างๆ
3.2 ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพระบบกล้องวงจรปิด CCTV เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับประชาชนในชุมชน
3.3 ส่งเสริมสนับสนุนนโยบายของรัฐ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3.4 ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากเกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ เพิ่มรายได้ของคนในตำบลหาดกรวด

 

4)นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมกิจการด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลางของ การพัฒนาในทุกกลุ่มอายุของประชากรในเขตเทศบาล ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ดังคํากล่าว “การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ” ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยจัดให้มีการดําเนินการในด้านต่างๆดังนี้
4.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน โดยพัฒนาปรับปรุงให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีการจัดการเรียนการสอนและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพทันสมัย มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพอนามัย ที่แข็งแรงได้รับอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนมีพัฒนาการสมวัยมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบโรงเรียน
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนในเขตเทศบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบตามอัธยาศัยเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ประชาชนได้เรียนรู้ เรียนดีและเรียนอย่างมีคุณภาพ โดย จัดตั้งโรงเรียนเตรียมธรรมาภิบาลหาดกรวด
4.3 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับศาสนาและพัฒนาศาสนสถานภายใต้กรอบโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข
4.4 ส่งเสริมสืบสาน วัฒนธรรมประเพณี วิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมเนื่องในโอกาสสําคัญทางราชการและประเพณีท้องถิ่น
4.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเป็นปึกแผ่นเชิงสถาบัน เช่น บวร (บ้าน, วัด, โรงเรียน) เพื่อให้ชุมชนได้เกิดความรักความสามัคคี เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
4.6 สนับสนุน การจัดกิจกรรมของวัดในเขตเทศบาล ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น เช่น ประเพณีวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันสงกรานต์ ลอยกระทง ฯลฯ เป็นต้น

 

5) นโยบายด้านการเมืองและการบริหาร
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการบริหารราชการท้องถิ่น ตามหลักธรรมาภิบาลด้วยการ พัฒนาศักยภาพองค์กรให้มีความพร้อมในการขับเคลื่อนภารกิจไปสู่เป้าหมาย การดําเนินกิจกรรมทางด้านการเมืองและการบริหารนับว่าเป็นกระบวนการที่สําคัญที่จะผลักดันให้ นโยบายด้านต่างๆข้างต้นประสบผลสําเร็จ ดังนั้นเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักจึงกําหนดแนวทางดังนี้
5.1 จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการทํางาน จัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน วางระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการและบริการ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถมีคุณภาพ ปรับปรุงระบบการทํางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5.2 พัฒนาการด้านจัดเก็บรายได้เพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดเก็บรายได้และให้ความรู้ ความเป็นธรรมแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เพื่อนำภาษีมาพัฒนาท้องถิ่น
5.3 บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและเอกชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกัน รวมถึงนําการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่มาใช้ พัฒนาระบบงาน และสมรรถนะของบุคลากรทุกระดับ มีการจัดการระบบการบริหาร การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ และการบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพ ประหยัด ถูกต้อง และรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจเมื่อ มารับบริการ ส่งเสริมให้บุคลากรนาธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย หลักนิติ ธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่ง หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อนำมาพัฒนาระบบงาน การให้บริการ นำองค์กรไปสู่จุดหมาย
5.4 จัดศูนย์บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มาติดต่อราชการ ให้สะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น
5.5 พัฒนาระบบสื่อสารประชาสัมพันธ์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน การจัดซื้อ จัดจ้าง การคลัง การให้บริการด้านต่าง ๆ ของเทศบาล กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ พร้อมทั้งข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
5.6 ปรับปรุงกฎหมายท้องถิ่นที่ออกโดยสภาท้องถิ่นให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง จัดตั้งชุมชนเพื่อให้ประชาชนในแต่ละชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง นำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน
5.7 ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารและการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนากลไกการทํางานในรูปแบบสภาท้องถิ่นสมาชิกสภาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของชุมชนและภาคประชาสังคมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เสนอความคิดเห็น ข้อเสนอเเนะการทํางานของผู้บริหารได้ตลอดเวลา
5.8 ดําเนินการบริหารเทศบาล เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอํานวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศบาลทุกขั้นตอน การบริหารเป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า มีความเสมอภาคพร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเพิ่มพูนความรู้ ยกระดับแก่คณะผู้บริหารสมาชิกสภาฯ ข้าราชการพนักงานซึ่งเป็นบุคลากรที่สําคัญของเทศบาลให้มีความพร้อมที่จะสร้างระบบบริการสาธารณะที่ดีมีมาตรฐานเพื่อรองรับบริการด้านต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
5.9 ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนของคณะกรรมการชุมชน ที่ดําเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆโดยชุมชนเพื่อชุมชน รวมทั้งการสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนด้วยการจัดการศึกษาดูงานในท้องถิ่นที่ประสบความสําเร็จในการบริหารด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของคณะกรรมการชุมชน
5.10 การประสานการทํางาน ความร่วมมือระหว่างฝ่ายการเมืองคือ ฝ่ายบริหาร สมาชิกสภาเทศบาลกับข้าราชการประจํารวมทั้งบูรณาการประสานงานภายนอก เช่นระหว่างท้องถิ่นด้วยกันเอง และระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน ให้มีบรรยากาศการร่วมมือการทํางานที่ดีที่สุด

 

6) นโยบายด้านสาธารณสุขและอนามัย
พัฒนาด้านสาธารณสุขเชิงรุก ส่งเสริมการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน การบริการความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐานแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ สมบูรณ์ แข็งแรงถ้วนหน้า โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
6.1 เสริมสร้างสุขภาพของประชาชนโดยเน้นการส่งเสริมการออกกําลังกาย สนับสนุนการจัดตั้งชมรมการออกกําลังกายรูปแบบต่าง ๆ ตามความถนัด จัดให้มีเครื่องออกกําลังกายกลางแจ้งให้กับชุมชน พร้อมอุปกรณ์สนามเด็กเล่น
6.2 ส่งเสริมการดําเนินกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนและการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน โดยมีกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเป็นเจ้าภาพหลักในการดําเนินกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการตรวจสุขภาพเบื้องต้นของ ฯลฯ
6.3 เพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน โดยเสริมองค์ความรู้ทักษะ วัสดุอุปกรณ์ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เพื่อเป็นกําลังสําคัญในการช่วยเหลือ สนับสนุนการทํางานของเทศบาลรวมทั้งจัดให้มีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

 

7) นโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เทศบาลส่งเสริม รณรงค์ ให้มีการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตเทศบาล โดยความร่วมมือจากประชาชน ทุกหลังคาเรือน ได้พัฒนาจัดระเบียบบริเวณหน้าบ้านตนเองให้ “น่าอยู่น่ามอง” ตลอดจนป้องกัน รักษา แก้ไข ปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน ให้ปลอดภัยจากมลพิษ โดยการดูแลป้องกันและควบคุม
มลพิษ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งขยะมูลฝอย น้ำเสีย ฝุ่นละอองและกลิ่นเหม็น เพื่อให้เทศบาลตําบลหาดกรวดเป็น เมืองสะอาด น่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยดำเนินการดังนี้
7.1 ปรับปรุงระบบการจัดเก็บขยะ ให้มีประสิทธิภาพลดปริมาณขยะตกค้างในตำบล ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมในการแก้ปัญหาโดยการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางและมีการจัดการขยะอันตรายอย่างถูกวิธี
7.2 การพัฒนาการปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างบรรยากาศ สะอาด สดใส ลดภาวะโลกร้อน
7.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนให้มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์
ธรรมชาติโดยเฉพาะการปลูกต้นไม้
รวมทั้งการบริหารตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นหลักธรรมาภิบาลในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ตลอดวาระของการดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี

รางวัลที่ภาคภูมิใจ

รางวัลที่ภาคภูมิใจ

 

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 เทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประเภทเทศบาลตำบล การประกวดเมืองสิ่งแวดล้อม  ประจำปี พ.ศ. 25562

 

โล่รางวัลระดับดีเยี่ยม การประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน  ประจำปี พ.ศ. 25561

 

องค์กรปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100% ระดับทอง โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  ประจำปี พ.ศ. 25560

 

โล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรที่มีผลงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ดีเด่น  ประจำปี พ.ศ. 2559 

 

รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 

 

หมู่ที่ 6 บ้านซ่าน ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับประเทศประเภทกลุ่ม L

“โครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ(Zero Waste) เฉลิมพระเกียรติ 86 พรรษา ชุมชน” ประจำปี 2558

 

รางวัลด้านการจัดการมูลฝอยทั่วไป ได้รับรองคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health Accreditation : EHA) 

 

รางวัลหมู่บ้านต้นแบบ ระดับแม่ข่าย หมู่ที่ 2 เป็นหมู่บ้านที่นำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

พัฒนาคุณภาพชีวิต และมีการขยายผลไปสู่ หมู่บ้านใกล้เคียง

 

ได้รับประธานโล่เชิดชูเกียรติตำบลนมแม่ เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว ประจำปี 2557 

 

หมู่ที่ 6 บ้านซ่าน ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ระดับประเทศ ประเภทกลุ่ม L

“โครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ(Zero Waste)เฉลิมพระเกียรติ 86 พรรษา ชุมชน” ประจำปี 2557 

 

หมู่ที่ 5 บ้านท่า ได้รางวัลรองชนะเลิศ ระดับประเทศ ประเภทกลุ่ม L “โครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ

(Zero Waste) เฉลิมพระเกียรติ 86 พรรษา ชุมชน”  ประจำปี 2557

 

หมู่ที่ 5 บ้านท่า ได้รางวัลรองชนะเลิศ  อันดับที่ 2 ประเภทกลุ่ม L

“โครงการ ประกวดชุมชนปลอดขยะ(Zero Waste) เฉลิมพระเกียรติ 86 พรรษา ชุมชน” ประจำปี 2556

 

หมู่ที่ 5 บ้านท่า รางวัลผ่านเข้ารอบที่ 1 ประเภทกลุ่ม L “โครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ(Zero Waste) เฉลิมพระเกียรติ 86 พรรษา ชุมชน”

ประจำปี 2556 

 

15- รางวัลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีเด่น อันดับที่ 2  ประจำปี 2556
ประจำปี ๒๕๕๖

 

รางวัลรองชนะเลิศโครงการประกาวดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีเด่นด้านกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ

ประจำปี 2556 

 รางวัลศูนย์ อปพร.ดีเด่น
ประจำปี ๒๕๕๖

 

 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้การส่งเสริม สนับสนุนและผลิตข้าวอินทรีย์ดีเด่น ในโครงการส่งเสริมผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออก
ประจำปี ๒๕๕๕

 

รางวัลชนะเลิศการประกวดศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ยอดเยี่ยม ระดับอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ปี ๒๕๕๕

 

 รางวัลชนะเลิศ การนำเสนอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่นด้านไข้เลือดออก ระดับเพชร
ปี ๒๕๕๕ 

 

 รางวัลตำบลดีเด่น ด้านการพัฒนาชุมชน
ปี ๒๕๕๔

 

 รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้
ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔

 

 รางวัลชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ๘๔ ชุมชน
ปี ๒๕๕๔

 

 หน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ดีเด่น ในจังหวัดอุตรดิตถ์
ประจำปี ๒๕๕๔ 

 

 รางวัลชนะเลิศในการประกวดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น ด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 
ปี ๒๕๕๔

 

 รางวัลศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ยอดเยี่ยม ระดับจังหวัด
ปี ๒๕๕๔
(ความสำเร็จด้านการศึกษา แสดงถึงการยกระดับการศึกษา การเรียนการสอนให้กับลูกหลานตำบลหาดกรวด)
 

 ประกาศเกียรติคุณ ร่วมโครงการ กฟภ.-ประชา ร่วมใจลดไฟดับอย่างดียิ่ง
ปี ๒๕๕๓
(ซึ่งเป็นความสำเร็จด้านการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ที่เน้นการป้องกันไฟฟ้าดับภายในตำบล)

 

 รางวัล นวัตกรรมท้องถิ่นไทย ครั้งที่ ๑ 
ปี ๒๕๕๓  
(โครงการผลิตสารชีวภัณฑ์ ซึ่งเป็นความสำเร็จด้านการประยุกต์ใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีและลดต้นทุนทางการเกษตร เพื่อเป็นทางออกให้กับเกษตรกรชาวตำบลหาดกรวด )

 

 รางวัลศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดีเด่น
ประจำปี ๒๕๕๒ ระดับจังหวัด

 

 

ประวัติเทศบาล

 ประวัติความเป็นมาของตำบลหาดกรวด

ตำบลหาดกรวดเดิมชื่อตำบลวังหมู เนื่องจากในอดีตมีการบอกกล่าวเล่าขานสืบเนื่องต่อกันมาว่ามีหมู ทอง 1 ตัว ซึ่งหมูทองตัวนี้จะชอบมานอนเล่นที่บริเวณหนองน้ำ (ปัจจุบันคือบ้านวังหมู) ในละแวกนั้นอยู่เป็นประจำ และหมูตัวนี้จะชอบวิ่งลงไปเล่นน้ำที่แม่น้ำน่านและจะว่ายน้ำไปโ ผล่อีกท่าหนึ่งอยู่เป็นประจำ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดท่าทอง และอีกเพียงไม่นานหลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นหมูทองตัวนี้อีกเ ลย ประจวบกับพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราบใกล้กับแม่น้ำน่าน ชาวบ้านจึงร่วมด้วยช่วยกันสร้างพระอุโบสถขึ้นจำนวน 1 หลังเป็นรูปเรือสำเภา กว้างประมาณ 7.50 เมตร ซึ่งพระอุโบสถหลังนี้ใช้ทำประโยชน์เกี่ยวกับพิธีทางศาสนามาช้าน าน โดยมีชาวมอญชื่อ นายเม็ง นางกิมไล้ แซ่แต้ สองสามีภรรยาได้มาทำการค้าขายในพื้นที่บริเวณดังกล่าวที่เคยมีห มูทองชอบมานอนเล่นอยู่ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า วังหมู ส่งผลทำให้วังหมูในสมัยนั้นมีชื่อเสียงมาก ทั้งทางด้านศาสนา การค้าขาย และเศรษฐกิจ บ้านวังหมูจึงได้รับประกาศเป็นชื่อของตำบลวังหมู อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบ้านโพธิ์ มณฑลพิษณุโลก ในช่วงระยะเวลาการปกครองหมู่บ้านวังหมูมีกำนันขุนเนา วังวรา และ กำนันทอง อินจ่าย เป็นกำนันซึ่งทำการปกครองสืบเนื่องต่อกันมา ในสมัยที่กำนันทอง อินจ่าย ดำรงตำแหน่งอยู่นั้นได้ทำการปกครองดูแลพื้นที่ตั้งแต่บ้านวังหม ูครอบคลุมไปจนถึงหมู่บ้านบุ่งวังงิ้วเขตติดต่อกับตำบลคุ้งตะเภา โดยใช้ม้าเป็นพาหนะในการเดินทางสัญจรสำหรับใช้ในการไปปฏิบัติงา นอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2484 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ นายหมื่นเถื่อน ทองทวี เป็นกำนัน ได้เปลี่ยนชื่อจากตำบลวังหมูเป็นตำบลหาดกรวด โดยมีเหตุผลสืบเนื่องมาจากการที่กำนันหมื่นเถื่อน ทองทวี เป็นคนหาดกรวดจึงเปลี่ยนชื่อตำบลใหม่เพื่อให้ชื่อตำบลนั้นตรงกั บชื่อของหมู่บ้านตนเอง ซึ่งจากเดิมชื่อของบ้านหาดกรวดก็ได้มาจากการที่บ้านหาดกรวดมีพื ้นที่ที่อยู่ติดกับแม่น้ำน่านจึงมีกรวดและทรายเยอะมาก จึงได้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ และ แหล่งทำมาหากินสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในละแวกนั้น โดยจะมีเรือมอญจากปากน้ำโพซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวั ดนครสวรรค์ได้ล่องเรือขึ้นมาเพื่อขนกรวดไปขายครั้งละประมาณ 10-20 ลำเรือ โดยชาวเรือจะจ้างชาวบ้านให้ช่วยร่อนกรวดออกจากทราย โดยให้ค่าจ้างปี๊บละ 10 สตางค์ ชาวบ้านที่จะเดินทางไปร่อนกรวดขายจะต้องเดินผ่านพื้นผิวที่เป็น ทรายผสมกรวด ซึ่งพื้นผิวดังกล่าวจะมีความร้อนมากเมื่อเจอกับแสงแดด เนื่องจากชาวบ้านสมัยนี้ยังไม่นิยมสวมใส่รองเท้ากัน ชาวบ้านจึงแก้ปัญหาโดยวิธีการนำใบไม้มาวางทับพื้นผิวทรายและกรว ดก่อนเดินทางไปสถานที่ร่อนกรวดริมแม่น้ำน่านของหมู่บ้านหาดกรวด และจากการร่อนกรวดขายทำให้ชาวบ้านหาดกรวดมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้บ้านหาดกรวดในช่วงนั้นมีชื่อเสียงในเรื่องของกรวดมาก จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่กำนันหมื่นเถื่อน ทองทวี นำมาเปลี่ยนชื่อจากตำบลวังหมู เป็นตำบลหาดกรวดแทน โดยรวมตำบลป่าเซ่าเข้าไว้ด้วยกัน แต่หลังจาก 14 ปีให้หลังตำบลหาดกรวดก็ได้แยกออกจากตำบลป่าเซ่าอีกครั้งหนึ่งเม ื่อปี พ.ศ.2498 โดยชาวบ้านตำบลหาดกรวดส่วนใหญ่พูดภาษาสุโขทัย และนับถือศาสนาพุทธ ตำบลหาดกรวดปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งสิ้น 9 หมู่บ้านได้แก่ บ้านทับใหม่ บ้านหาดกรวด บ้านบุ่งจิก บ้านวังหมู บ้านท่า บ้านซ่าน บ้านไผ่ใหญ่ บ้านดงช้างดี และบ้านเขาตอง โดยมีกำนันที่ได้รับการแต่งตั้งและปกครองตำบลหาดกรวดมาแล้วจนถึ ง ปัจจุบันจำนวน 10 คนโดยมีทำเนียบซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ตา มลำดับรายชื่อดังนี้

กำนันคนแรก นายขุนเนา วังวรา 
กำนันคนที่สอง นายทอง อินจ่าย 
กำนันคนที่สาม นายหมื่นเถื่อน ทองทวี 
กำนันคนที่สี่ นายสวัสดิ์ โกฏแสง 
กำนันคนที่ห้า นายปิ่น เชตุใย 
กำนันคนที่หก นายชวน อินจ่าย 
กำนันคนที่เจ็ด นายเปลื้อง พันทอง 
กำนันคนที่แปด นายสมัย สายบุญส่ง 
กำนันคนที่เก้า นายบำเพ็ญ ทองทวี 
กำนันคนที่สิบ นายไพรวัลย์ คุ้มอักษร (กำนันคนปัจจุบัน) 
ตำบลหาดกรวดได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหาดกรวดครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2539 มีที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราวอยู่ที่หมู่ที่ 4 บ้านวังหมู และย้ายมาอยู่อาคารถาวรหมู่ที่ 1 บ้านทับใหม่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมาแล้ว 2 คนตามลำดับคือ 

นายสมัย สายบุญส่ง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ตั้งแต่ พ.ศ. 2539   2543 

นายโยธิน ชารีขวัญ  ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตั้งแต่ พ.ศ. 2543   2547

นายสมัย สายบุญส่ง ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตั้งแต่ พ.ศ. 2547   2551 

และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 องค์การบริหารส่วนตำบลหาดกรวดได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล หาดกรวด โดยมีนายสุริยา อินจ่าย เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลหาดกรวดตั้งแต่เริ่มยกฐานะเ ป็นเทศบาลตำบลหาดกรวดจนครบวาระ

นายสมัย สายบุญส่ง ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลหาดกรวด ตั้งแต่ พ.ศ. 2555   25ุ64 

และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 นายสุริยา อินจ่าย ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน

 

 

หมายเหตุ : ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด ณ 16/05/2556

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน



ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลหาดกรวด  อยู่ที่บ้านทับใหม่  หมู่ที่  ๑  ถนนอุตรดิตถ์ – พิชัย  ตำบลหาดกรวด  อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์  โทรศัพท์  ๐-๕๕๔๔-๕๑๑๘  โทรสาร  ๐-๕๕๔๔-๕๑๑๘  ต่อ  ๑๓  อยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ประมาณ  ๑๒  กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลป่าเซ่า,ตำบลผาจุก,ตำบลคุ้งตะเภา
ทิศใต้  ติดต่อกับ ตำบลวังแดง,อำเภอตรอน  จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลป่าคาย  อำเภอทองแสนขัน  จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลวังกะพี้,ตำบลบ้านเกาะ

เนื้อที่
เทศบาลตำบลหาดกรวดมีเนื้อที่ประมาณ  ๒๘,๗๕๐  ไร่  หรือประมาณ  ๔๖  ตารางกิโลเมตร  พื้นที่ทางการเกษตรกรรมประมาณ  ๒๘,๑๓๗  ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลหาดกรวดมีแม่น้ำน่านไหลผ่าน  หมู่ที่  ๑-๖  ตลอดแนวด้านตะวันตกของตำบล  แม่น้ำน่านเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงราษฎรชาวตำบลหาดกรวดมาช้านาน  พื้นที่ราบลุ่มริมน้ำน่าน  พื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกยาสูบ  ข้าวโพด  ตอนกลางมีคลองจระเข้ไหลจากบึงกะโล่ผ่านทุ่งนาแหล่งปลูกข้าวของตำบล  พื้นที่ด้านตะวันออกและด้านใต้ของตำบลเป็นเนินเขาและเป็นที่ราบสูง  มีลำห้วยสองจบ  ห้วยตะค้อและห้วยลึกไหลผ่าน  ในฤดูแล้งน้ำในลำห้วยจะแห้งขอดไม่มีน้ำพอเพียงต่อการอุปโภค  บริโภค  และทำการเกษตร

การปกครองในเขตเทศบาลตำบลหาดกรวดมีหมู่บ้าน  ๙  หมู่บ้าน  ได้แก่
หมู่ที่  ๑  บ้านทับใหม่
หมู่ที่  ๒  บ้านหาดกรวด
หมู่ที่  ๓  บ้านบุ่งจิก
หมู่ที่  ๔  บ้านวังหมู
หมู่ที่  ๕  บ้านท่า
หมู่ที่  ๖  บ้านซ่าน
หมู่ที่  ๗  บ้านไผ่ใหญ่
หมู่ที่  ๘  บ้านดงช้างดี
หมู่ที่  ๙  บ้านเขาตอง

ผู้นำชุมชน  ๙  หมู่บ้าน
หมู่ที่  ๑  นายชูชาติ    เที่ยงฟัก
หมู่ที่  ๒  นายประสบ   วอนสร้อย
หมู่ที่  ๓  นายพนม   รุ่งทอง
หมู่ที่  ๔  นายวิรัลยุพา  กัดมั่น
หมู่ที่  ๕  นายไพรวัลย์  คุ้มอักษร
หมู่ที่  ๖  นายมาโนช    สุธรรมรักขติ
หมู่ที่  ๗  นายประดิษฐ์  คงแจ้ง
หมู่ที่  ๘  นางชนาการนต์    ทองบัว
หมู่ที่  ๙  นายมานะ    วอนสร้อย

ประชากร ๙ หมู่บ้าน
ประชากรทั้งสิ้น  7,516  คน   ชาย  3,660  คน   หญิง  3,856   คน     
ความหนาแน่น163 คน/ตารางกิโลเมตร    พื้นที่ 28,750 ไร่ หรือ 46 ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชาย

หญิง

รวม

หลังคาเรือน

1

บ้านทับใหม่

219

202

421

197

2

บ้านหาดกรวด

300

338

638

252

3

บ้านบุ่งจิก

542

647

1,189

390

4

บ้านวังหมู

604

593

1,197

378

5

บ้านท่า

542

611

1,153

348

6

บ้านซ่าน

656

662

1,318

410

7

บ้านไผ่ใหญ่

286

305

591

242

8

บ้านดงช้างดี

353

368

721

268

9

บ้านเขาตอง

155

130

285

118

 

รวม

3,660

3,856

7,516

2,604

ข้อมูลประชากร ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563

 

สถาบันและองค์การทางศาสนา

๑. วัดทับใหม่
๒. วัดวังหมู
๓. วัดเนินโพธิ์
๔. วัดไผ่ใหญ่
๕. วัดดงช้างดี
๖. วัดเขาตอง
๗. สำนักสงฆ์ป่าเรไร

สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน ๒ แห่ง
(๑) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด
(๒) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่า
- สถานพยาบาลเอกชน ๔ แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ  ๑๐๐

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- หน่วยบริการประชาชนตำบลหาดกรวด หมู่ที่  ๓
- หน่วยบริการประชาชนดงช้างดี   หมู่ที่  ๘  (ถนนสายเอเชีย)

บริการพื้นฐาน
การคมนาคม  เทศบาลตำบลหาดกรวดสามารถเดินทางไปตำบลอื่นๆและต่างจังหวัดได้โดยสะดวก  ดังนี้
- ทางหลวง  หมายเลข  ๑๑  (เอเชีย)  สายเด่นชัย – พิษณุโลก
- ทางหลวง  หมายเลข  ๑๒๐๔  ถนนอุตรดิตถ์ – พิชัย
- ถนนภายในหมู่บ้าน
๑. ถนนลาดยาง ๖ สาย
๒. ถนนคอนกรีต ๙๔ สาย
๓. ถนนลูกรัง  ๓๑ สาย

การโทรคมนาคม
๑) ตู้โทรศัพท์สาธารณะ  ๑๒  แห่ง
๒) ครัวเรือนที่มีโทรศัพท์  ๘๓๒  ครัวเรือน
๓) ครัวเรือนที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ ๒,๓๐๐  ครัวเรือน
๔) ครัวเรือนที่มีโทรทัศน์หรือวิทยุใช้ ๒,๓๑๒  ครัวเรือน

การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าเข้าถึงครบทุกหมู่บ้าน  ( ๙  หมู่บ้าน)
- จำนวนราษฎรที่ใช้ไฟฟ้า  ๒,๕๑๐  ครัวเรือน
- จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้  ๐  ครัวเรือน

แหล่งน้ำธรรมชาติ
- แม่น้ำน่าน  คลองจระเข้  ห้วยตะค้อ  ห้วยลึก

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า  ๒  แห่ง
- ฝาย     ๑๒  แห่ง
- สระ     ๔๓  แห่ง
- ประปาหมู่บ้านเทศบาลบริหารจัดการ ๙  แห่ง
- ประปาหมู่บ้านบริหารจัดการ  ๑๕  แห่ง
- บ่อน้ำตื้น    ๔๖  แห่ง
- ถังเหลี่ยม    ๑  แห่ง
- ถัง  ฝ.๓๐ , ๓๓ ,  ๙๙   ๕  แห่ง
- ถังไฟเบอร์การ์ด   ๔  ใบ
- บ่อบาดาล    ๑๒  แห่ง
ข้อมูลอื่นๆ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- มีพื้นที่ป่าไม้ชุมชน   ๒  แห่ง
๑. ป่าแดงบ้านท่า  หมู่  ๕  จำนวน ๒๙๘  ไร่
๒. สวนป่าสิริกิติ์    หมู่  ๙  จำนวน   ๑๕๐  ไร่

มวลชนที่จัดตั้ง
- อาสาสมัครป้องกันภัยพลเรือน   จำนวน  ๔๐ คน
- อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน   จำนวน  ๑๗๗ คน
- กรรมการพัฒนาสตรี  หมู่บ้าน ๙ หมู่บ้าน จำนวน  ๘๑ คน
- กรรมการพัฒนาสตรีตำบล   จำนวน  ๑๖ คน
- กองกำลังประชาชนพิทักษ์ถิ่น   จำนวน  ๙๐ คน
- อาสาสมัครหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย  จำนวน  ๑๐ คน


   นางสาวพรรณพิไล  สาดคำ
         ปลัดเทศบาลตำบลหาดกรวด

สื่อ Online

   

Link URL

การพัฒนาจังหวัดด้วย ว.และ ท.

การพัฒนาจังหวัด
ด้วย ว.และ ท.

Link หน่วยงานภาครัฐ





 

 

 


 


 

ร้องเรียน-ร้องทุกข์