วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์นโยบาย

วิสัยทัศน์และยุทศาสตร์นโยบาย

1) นโยบายการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร
เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำอุปโภค – บริโภค พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การบริหารจัดการน้ำ พัฒนาระบบประปาให้เพียงพอในการอุปโภค – บริโภค ให้ไหลตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรให้พอเพียงทั่วถึงทั้งตำบล ดังนี้
1.1พัฒนาระบบบริการประปา ให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาแจกจ่ายให้ประชาชนตำบลหาดกรวด
1.2ขุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อรองรับระบบประปาจากแหล่งน้ำบาดาล ก่อสร้างระบบประปาผิวดิน และจะทำการขุดลอกแหล่งกักเก็บน้ำดิบขนาดใหญ่ที่มีอยู่ให้รองรับปริมาณน้ำอย่างเพียงพอ
1.3ขุดลอกสระน้ำเพื่อการเกษตร สระน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปา และใช้เพื่อการเกษตร

 

2) นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและผังเมืองการคมนาคมขนส่งและสัญจร ระบบสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลฯ ได้รับความสะดวกสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีแนวทาง ดังนี้
1.1พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม ถนนลาดยาง คอนกรีต ถนนหินคลุก ให้เป็นเส้นทาง คมนาคมที่ได้มาตรฐาน และเพียงพอ
1.2พัฒนาระบบกันน้ำท่วม ด้วยการปรับปรุงก่อสร้าง รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำให้สามารถ รองรับปริมาณน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3ปรับปรุงระบบการบริการสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ทั่วถึงเพียงพอ มีคุณภาพ มาตรฐาน
1.4ขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำและไฟฟ้าสาธารณะให้ครอบคลุม และดําเนินการประสานเพื่อ ขอรับงบประมาณจากภายนอกและดำเนินการขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อปรับปรุง ระบบบริการไฟฟ้า สาธารณะให้มีมาตรฐานและประหยัด
1.5ดําเนินการปรับปรุงระบบจราจรให้เป็นระบบ รวมทั้งติดตั้งไฟ ป้าย สัญญาณ จราจรในจุดที่เสี่ยงเพื่อความปลอดภัย แก่ผู้ใช้ถนน
1.6การควบคุมการขยายของตัวเมืองให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมเทศบาลตำบลหาดกรวดและเป็นไปตาม ข้อบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

3) นโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม ชุมชน สินค้าการเกษตร การทำเกษตรอินทรีย์และเพิ่มรายได้ให้ประชาชน
เพื่อให้ประชาชนในตำบลหาดกรวดมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีแนวทางดังนี้
3.1 การป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จะจัดเตรียมความพร้อมบุคลากร ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย โดยเฉพาะอัคคีภัยจัดหาถังเคมีติดตั้ง รวมทั้งจัดให้มีการอบรมทบทวน ซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยระงับอัคคีภัยตามจุดเสี่ยงต่างๆ
3.2 ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพระบบกล้องวงจรปิด CCTV เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับประชาชนในชุมชน
3.3 ส่งเสริมสนับสนุนนโยบายของรัฐ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3.4 ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากเกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ เพิ่มรายได้ของคนในตำบลหาดกรวด

 

4)นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมกิจการด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลางของ การพัฒนาในทุกกลุ่มอายุของประชากรในเขตเทศบาล ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ดังคํากล่าว “การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ” ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยจัดให้มีการดําเนินการในด้านต่างๆดังนี้
4.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน โดยพัฒนาปรับปรุงให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีการจัดการเรียนการสอนและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพทันสมัย มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพอนามัย ที่แข็งแรงได้รับอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนมีพัฒนาการสมวัยมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบโรงเรียน
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนในเขตเทศบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบตามอัธยาศัยเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ประชาชนได้เรียนรู้ เรียนดีและเรียนอย่างมีคุณภาพ โดย จัดตั้งโรงเรียนเตรียมธรรมาภิบาลหาดกรวด
4.3 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับศาสนาและพัฒนาศาสนสถานภายใต้กรอบโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข
4.4 ส่งเสริมสืบสาน วัฒนธรรมประเพณี วิถีชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมเนื่องในโอกาสสําคัญทางราชการและประเพณีท้องถิ่น
4.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเป็นปึกแผ่นเชิงสถาบัน เช่น บวร (บ้าน, วัด, โรงเรียน) เพื่อให้ชุมชนได้เกิดความรักความสามัคคี เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
4.6 สนับสนุน การจัดกิจกรรมของวัดในเขตเทศบาล ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น เช่น ประเพณีวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันสงกรานต์ ลอยกระทง ฯลฯ เป็นต้น

 

5) นโยบายด้านการเมืองและการบริหาร
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการบริหารราชการท้องถิ่น ตามหลักธรรมาภิบาลด้วยการ พัฒนาศักยภาพองค์กรให้มีความพร้อมในการขับเคลื่อนภารกิจไปสู่เป้าหมาย การดําเนินกิจกรรมทางด้านการเมืองและการบริหารนับว่าเป็นกระบวนการที่สําคัญที่จะผลักดันให้ นโยบายด้านต่างๆข้างต้นประสบผลสําเร็จ ดังนั้นเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักจึงกําหนดแนวทางดังนี้
5.1 จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการทํางาน จัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน วางระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการและบริการ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถมีคุณภาพ ปรับปรุงระบบการทํางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5.2 พัฒนาการด้านจัดเก็บรายได้เพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดเก็บรายได้และให้ความรู้ ความเป็นธรรมแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เพื่อนำภาษีมาพัฒนาท้องถิ่น
5.3 บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและเอกชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกัน รวมถึงนําการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่มาใช้ พัฒนาระบบงาน และสมรรถนะของบุคลากรทุกระดับ มีการจัดการระบบการบริหาร การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ และการบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพ ประหยัด ถูกต้อง และรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจเมื่อ มารับบริการ ส่งเสริมให้บุคลากรนาธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย หลักนิติ ธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่ง หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อนำมาพัฒนาระบบงาน การให้บริการ นำองค์กรไปสู่จุดหมาย
5.4 จัดศูนย์บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มาติดต่อราชการ ให้สะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น
5.5 พัฒนาระบบสื่อสารประชาสัมพันธ์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน การจัดซื้อ จัดจ้าง การคลัง การให้บริการด้านต่าง ๆ ของเทศบาล กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ พร้อมทั้งข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
5.6 ปรับปรุงกฎหมายท้องถิ่นที่ออกโดยสภาท้องถิ่นให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง จัดตั้งชุมชนเพื่อให้ประชาชนในแต่ละชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง นำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน
5.7 ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารและการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนากลไกการทํางานในรูปแบบสภาท้องถิ่นสมาชิกสภาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของชุมชนและภาคประชาสังคมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เสนอความคิดเห็น ข้อเสนอเเนะการทํางานของผู้บริหารได้ตลอดเวลา
5.8 ดําเนินการบริหารเทศบาล เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอํานวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศบาลทุกขั้นตอน การบริหารเป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า มีความเสมอภาคพร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเพิ่มพูนความรู้ ยกระดับแก่คณะผู้บริหารสมาชิกสภาฯ ข้าราชการพนักงานซึ่งเป็นบุคลากรที่สําคัญของเทศบาลให้มีความพร้อมที่จะสร้างระบบบริการสาธารณะที่ดีมีมาตรฐานเพื่อรองรับบริการด้านต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
5.9 ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนของคณะกรรมการชุมชน ที่ดําเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆโดยชุมชนเพื่อชุมชน รวมทั้งการสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนด้วยการจัดการศึกษาดูงานในท้องถิ่นที่ประสบความสําเร็จในการบริหารด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของคณะกรรมการชุมชน
5.10 การประสานการทํางาน ความร่วมมือระหว่างฝ่ายการเมืองคือ ฝ่ายบริหาร สมาชิกสภาเทศบาลกับข้าราชการประจํารวมทั้งบูรณาการประสานงานภายนอก เช่นระหว่างท้องถิ่นด้วยกันเอง และระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน ให้มีบรรยากาศการร่วมมือการทํางานที่ดีที่สุด

 

6) นโยบายด้านสาธารณสุขและอนามัย
พัฒนาด้านสาธารณสุขเชิงรุก ส่งเสริมการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน การบริการความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐานแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ สมบูรณ์ แข็งแรงถ้วนหน้า โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
6.1 เสริมสร้างสุขภาพของประชาชนโดยเน้นการส่งเสริมการออกกําลังกาย สนับสนุนการจัดตั้งชมรมการออกกําลังกายรูปแบบต่าง ๆ ตามความถนัด จัดให้มีเครื่องออกกําลังกายกลางแจ้งให้กับชุมชน พร้อมอุปกรณ์สนามเด็กเล่น
6.2 ส่งเสริมการดําเนินกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนและการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน โดยมีกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเป็นเจ้าภาพหลักในการดําเนินกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการตรวจสุขภาพเบื้องต้นของ ฯลฯ
6.3 เพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน โดยเสริมองค์ความรู้ทักษะ วัสดุอุปกรณ์ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เพื่อเป็นกําลังสําคัญในการช่วยเหลือ สนับสนุนการทํางานของเทศบาลรวมทั้งจัดให้มีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

 

7) นโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เทศบาลส่งเสริม รณรงค์ ให้มีการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตเทศบาล โดยความร่วมมือจากประชาชน ทุกหลังคาเรือน ได้พัฒนาจัดระเบียบบริเวณหน้าบ้านตนเองให้ “น่าอยู่น่ามอง” ตลอดจนป้องกัน รักษา แก้ไข ปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน ให้ปลอดภัยจากมลพิษ โดยการดูแลป้องกันและควบคุม
มลพิษ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งขยะมูลฝอย น้ำเสีย ฝุ่นละอองและกลิ่นเหม็น เพื่อให้เทศบาลตําบลหาดกรวดเป็น เมืองสะอาด น่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยดำเนินการดังนี้
7.1 ปรับปรุงระบบการจัดเก็บขยะ ให้มีประสิทธิภาพลดปริมาณขยะตกค้างในตำบล ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมในการแก้ปัญหาโดยการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางและมีการจัดการขยะอันตรายอย่างถูกวิธี
7.2 การพัฒนาการปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างบรรยากาศ สะอาด สดใส ลดภาวะโลกร้อน
7.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนให้มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์
ธรรมชาติโดยเฉพาะการปลูกต้นไม้
รวมทั้งการบริหารตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งเป็นหลักธรรมาภิบาลในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ตลอดวาระของการดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี